วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559



โครงงานอาชีพ
เรื่องมะพร้าวแก้วหลากสี

จัดทำโดย
            นายศักดา  ไชยลาโพธิ์  เลขที่ 9

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 3
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2557
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29




บทคัดย่อ

มะพร้าวเป็นพืชพรรณที่พบเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่ชายทะเลทุกแห่งในประเทศไทย รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยบูรพามะพร้าวยังเป็นพืชที่ผูกพันกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน  มะพร้าวมีคุณสมบัติสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์หลากหลาย  มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมนำมาบริโภคในประเทศไทยเป็นอย่างมาก  นิยมนำมาทำอาหารคาว หวาน นอกจากนั้นยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว  อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น  และอุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้งและอื่นๆ  ใบใช้ทำจักสาน  กะลาแก้ท้องเสีย และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย
         มะพร้าวแก้วก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าวโดยนำส่วนเนื้อมาขูดฝอยผัดกับน้ำตาลทราย พอให้น้ำตาลแห้งนำมากองให้แห้งสนิท และนำใส่บรรจุภัณฑ์  มะพร้าวแก้วเป็นของหวานชนิดแห้งใช้รับประทานเวลาว่าง
          ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงทำมะพร้าวแก้วเพื่อเป็นการฝีกประสบการณ์เกี่ยวกับการประกอบอาชีพสุจริต  เป็นการใช้เวลาว่างอย่างเกิดประโยชน์ เป็นการหารายได้ระหว่างเรียน เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย







กิตติกรรมประกาศ

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการทำขนมมะพร้าวแก้วที่ถูกวิธีและอร่อยซึ่งขนมมะพร้าวแก้วสามารถนำไปประกอบอาชีพได้และหารายได้ในชีวิตประจำวัน
และการจัดทำครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับคำแนะนำจากคุณคร อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กระผมจึงขอบคุณ ไว้ ณ ที่นี้






สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                                                       หน้า
บทที่  บทนำ                                                                                                                                                        1
1.1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                                             
1.2.  วัตถุประสงค์                                                                                                                                  
บทที่  2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                  2 
2.1.  ประวัติและความเป็นมา                                                                                                                               
2.2.  มะพร้าว                                                                                                                                           
บทที่  วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                                   5
3.1วัสดุและอุปกรณ์                                                                                                                                
3.2.  กิจกรรมแลการดำเนินงาน                                                                                             
บทที่  ผลการดำเนินงาน                                                                                                                                   6
4.1วิธีทำ
                                                                                                    
บทที่  สรุปผลประเมินและข้อเสนอแนะ                                                                                                       9
                5.1  สรุปผล                                                                                                                                              
                5.2  ประเมินผล                                                                                                                      
                5.3  ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                   






บทที่  1
บทนำ

1.1  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
มะพร้าวเป็นพืชพรรณที่พบเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่ชายทะเลทุกแห่งในประเทศไทย รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยบูรพามะพร้าวยังเป็นพืชที่ผูกพันกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน  มะพร้าวมีคุณสมบัติสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์หลากหลาย  มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมนำมาบริโภคในประเทศไทยเป็นอย่างมาก  นิยมนำมาทำอาหารคาว หวาน นอกจากนั้นยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว  อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น  และอุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้งและอื่นๆ  ใบใช้ทำจักสาน  กะลาแก้ท้องเสีย และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย
         มะพร้าวแก้วก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าวโดยนำส่วนเนื้อมาขูดฝอยผัดกับน้ำตาลทราย พอให้น้ำตาลแห้งนำมากองให้แห้งสนิท และนำใส่บรรจุภัณฑ์  มะพร้าวแก้วเป็นของหวานชนิดแห้งใช้รับประทานเวลาว่าง
          ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงทำมะพร้าวแก้วเพื่อเป็นการฝีกประสบการณ์เกี่ยวกับการประกอบอาชีพสุจริต  เป็นการใช้เวลาว่างอย่างเกิดประโยชน์ เป็นการหารายได้ระหว่างเรียน  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย
1.2  วัตถุประสงค์
 1.2.1 เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
1.2.2 เพื่อเกิดการประกอบอาชีพ
1.2.3 เพื่ออนุรักษ์ขนมไทย
1.2.4 เพื่อใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด





บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1  มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวเป็นไม้ผลที่มีอยู่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศสามารถกินได้ทั้งมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าว มะพร้าวแก่ กะทิ แต่ที่บ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคานแปรรูปมะพร้าวเป็น มะพร้าวแก้วโดย...กลุ่มอาชีพสตรีพ.ศ. 257 สตรีอาสาบ้านน้อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อจะแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว จึงได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยให้มาฝึกอบรม และฝึกสอนวิธีการทำขนมต่างๆ การทำมะพร้าวแก้ว เพื่อนำไปจำหน่ายที่แก่งคุดคู้ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาชีพการทำมะพร้าวแก้วจึงได้ ขยายวงไปอย่างกว้างขวางและพัฒนาจากการทำเป็นฝอยๆเป็นแผ่นแต่การประกอบอาชีพดังกล่าวยังเป็นการประกอบอาชีพ ต่างคนต่างทำ ไม่ดำเนินการในรูปกลุ่มกลุ่มสตรีแปรรูปมะพร้าวแก้วนางปราณี แก่นสียา เล่าว่า พ.ศ. 2536 การค้าขายที่ต่างคนต่างทำทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบและการตั้งราคาก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงคานและสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงคาน ได้มาจัดตั้งกลุ่มและฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะให้แก่กลุ่มสตรีในด้านการรวมกลุ่ม การกำหนดกฎกติกา การตั้งคณะกรรมการบริหาร การแสวงหาทุน การจัดทำบัญชี ตลอดจนศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ กลุ่มกล้วยอบน้ำผึ้ง อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ...สมาชิกเริ่มก่อตั้ง 33 คนลงหุ้นเริ่มแรกคนละ 500 บาท เป็นเงิน 16,500 บาท ต่อมาสมาชิกบางส่วนได้ขอลาออกเหลือสมาชิก 16 คน ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนสนับสนุนทุน 36,000 บาท กลุ่มได้เช่าที่ทำการกลุ่มมาแต่เริ่มต้นไม่สะดวกในการดำเนินการจึงรวมทุนจากกำไรสุทธิตั้งแต่เริ่มต้น 90,000 บาทระดมทุนจากสมาชิก 16 คนๆละ3,750 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท ซื้อที่ดิน 1 งาน 26 ตารางวา ราคา 150,000 บาท เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มต่อไป 2539 กรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนงบสร้างศูนย์สาธิตการตลาด 400,000 บาทปี 2543ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนเป็นปัจจัยการผลิต 200,000 บาท 2544 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสนับสนุนทุนปัจจัยการผลิต 80,000 บาท สินเชื่อจาก ธกส. 150,000 บาทปัจจุบันกลุ่มสตรีมะพร้าวแก้วบ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน มี ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น มะพร้าวแก้ว กล้วยอบเนย กล้วยทอด กล้วยฉาบ วุ้นมะพร้าว ขนมทองพับ มะขามคลุก/สามรส และน้ำผลไม้ตามฤดูกาลการพัฒนาการผลิตสู่การตลาดระบบการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์ต้องมีการพัฒนาและการบรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการพัฒนา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีหลากหลาย ตามฤดูกาลของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นทรัพยากรของท้องถิ่น กลุ่มได้มีการปรับปรุงพัฒนากรรมวิธีการผลิตโดยเน้นการผลิตที่ สะอาด nbsp;

ถูกหลักอนามัย ไม่มีสารเจือปนและไดรับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากสาธารณสุขจังหวัดเลย(อย.) การตลาดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ณ ที่ทำการกลุ่ม แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
2.2มะพร้าว 
เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
ลักษณะทั่วไป
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น
ลักษณะทางพันธุศาสตร์
มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocosnucifera L. อยู่ในตระกูล Palmaeมีระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น
ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ คือ ในปีหนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมีรอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล
ใบ เป็นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง ( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทางประมาณ 200 – 250 ใบ
ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้
ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้นคือ
1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมีสีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ 
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา ( shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
พันธุ์ มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อาจแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทต้นเตี้ยและประเภทต้นสูง


มะพร้าวในประเทศไทย
มะพร้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยรู้จักใช้เนื้อมะพร้าวในการบริโภคเป็นอาหารทั้งคาวและหวานในชีวิตประจำวัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล/คน/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป
อุตสาหกรรมมะพร้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว
2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
ผลผลิตมะพร้าวแต่ละปีจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท คิดแล้วมูลค่ามหาศาล ซึ่งเราไม่ควรที่จะละเลยและ ควรเร่งหาทางในการส่งเสริมและพัฒนามะพร้าวอีกต่อไป
มะพร้าวสามารถขึ้นได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยคือ (pH ระหว่าง 6-7 ) ลักษณะดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีแสงแดดมาก
ภาคที่มีการปลูกมะพร้าวมากและปลูกเป็นอาชีพ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก



บทที่  3
วิธีการดำเนินงาน
3.1 อุปกรณ์
1.  กระทะ            1 ใบ
2.  ช้อน 1 คัน
3.  มือแมว            3 อัน
4.  พร้า  1 ด้าม
5.  ตะหลิว            1 คัน
6.  ทัพพี                1 คัน
7.  เตาแก๊ส           1 เตา
3.2  กิจกรรมการปฏิบัติงาน
1.  ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำมะพร้าวแก้วว่ามีวิธีการและส่วนผสมอย่างไร
2.  เตรียมอุปกรณ์ในการทำมะพร้าวแก้ว เช่น กระทะ ตะหลิว เตาแก๊ส ฯลฯ
3.  การลงมือปฏิบัตินั้นก็นำมะพร้าวที่ปลอกเสร็จแล้วมาผัดให้เข้ากันรอให้แห้ง
4.  นำผลงานที่ได้นั้นมาสรุปหรือนำมาวิเคราะห์ถ้ามีข้อผิดพลาด
5.  นำข้อมูลที่ได้นั้นมารวบรวมและจัดทำรูปเล่ม




บทที่  4
ผลการดำเนินงาน

         จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนทำขนมมะพร้าวแก้วที่ได้คือ ได้เรียนรู้วิธีการทำขนมที่ถูกวิธีและได้ขนมที่อร่อยด้วยวิธีข้างล่างนี้
1.วิธีทำขนมมะพร้าวแก้ว
   1.1เตรียมส่วนผสมให้ครบ  



1.2 เคี่ยวน้ำตาล 


       1.3 ใส่มะพร้าวลงในกะทะแล้วผัดไปผัดมาแล้วใส่สีผสมอาหารลงไปใช้ไฟกลางๆในการผัดจากนั้นผัดไปผัดมาจนน้ำแห้ง

       1.4 ตักใส่ภาชนะ










บทที่  5
สรุปผลประเมินและข้อเสนอแนะ

5.1  สรุปผล
                ในการทำโครงงานทำให้ผมได้ข้อมูลในการทำรูปเล่มโครงงานและได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
5.2  ประเมินผล
ในการทำโครงงานมะพร้าวแก้ว  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เกิดการประกอบอาชีพ
และเป็นการอนุรักษ์ขนมไทย ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
5.3  ข้อเสนอแนะ
          ในการทำมะพร้าวแก้วครั้งต่อไป ควรใช้มะพร้าวขูดฝอย 3 ถ้วยตวงน้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวงน้ำใบเตย ½ ถ้วยตวงเกลือป่น ½ ช้อนชาสีผสมอาหาร (แล้วแต่สีที่ชอบ) ต่อ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระหว่างการทำขนม









ภาคผนวก

ผ่ามะพร้าว



 ขูดมะพร้าว




เตรียมส่วนผสม




เคี่ยวน้ำตาล





ผัดมะพร้าว




ผัดมะพร้าวตอนใส่สีผสมอาหารเสร็จ


 ตักใส่ภาชนะ